รู้หรือไม่..! อากาศในบ้านก่อให้เกิดภูมิแพ้และหอบหืดได้

รู้หรือไม่..! อากาศในบ้านก่อให้เกิดภูมิแพ้และหอบหืดได้

มั่นใจว่าคุณแม่ยุคใหม่หลายๆ คนมักจะให้ความสำคัญและใส่ใจในการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ทั้งเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย และการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ แต่มีอีกหนึ่งปัจจัยที่คุณแม่หลายๆ ท่านอาจมองข้าม นั่นคือ สภาพแวดล้อมภายในบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อากาศที่เราหายใจเข้าไป ตามสถิติแล้ว คนเราหายใจเข้า – ออกถึงวันละ 24,000 ครั้ง และเมื่ออากาศภายในบ้านเต็มไปด้วย สิ่งแปลกปลอมแฝงหรือผงฝุ่นที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก ผลกระทบที่ตามมา คือ ลูกน้อยของคุณอาจป่วยเป็นโรคภูมิแพ้หรือหอบหืดแบบที่ตัวคุณแม่เองก็คาดไม่ถึง…!!


บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้จัดงาน “รวมพลคนไม่(ยอม) แพ้ by Philips Air Purifier” ขึ้น นำโดยนางสาวสิริวรรณ นิจกิจจาทร ผู้จัดการทั่วไปกลุ่มธุรกิจ Personal Health บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด “ด้วยวิสัยทัศน์ของฟิลิปส์ เรามีความมุ่งมั่นที่จะมีส่วนช่วยสร้างความเป็นอยู่และสุขภาพที่ดีให้กับผู้คน ดังนั้น นอกจากเราจะนำเสนอนวัตกรรมที่มีคุณค่าแล้ว เรายังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้ความรู้ เพื่อการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน เราจึงได้จัดงานในวันนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงความสำคัญของอากาศภายในบ้าน ซึ่งต้องบอกว่าหลายๆ คนอาจลืมคิดไปว่าอากาศในบ้านสำคัญยังไง เพราะเราใช้ชีวิตในบ้านมากกว่า 8-10 ชั่วโมงโดยเฉพาะครอบครัวที่มีลูกเล็กๆ จะใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากกว่าปกติ และที่น่าตกใจคือ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกพบว่า อากาศในบ้านนั้นอาจสกปรกกว่าอากาศนอกบ้านได้ถึง 2-5เท่า  ซึ่งอากาศที่เราสูดเข้าไปเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่มีความสำคัญกับร่างกายและสุขภาพของเราอย่างมาก เพราะเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ และโรคอื่นๆ ได้” 

ด้าน รศ.พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี (หมอใหม่) กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลพระรามเก้า มาร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับการปกป้องลูกน้อยให้ห่างไกลจากโรคภูมิแพ้ในงานฯ โดยคุณหมอใหม่กล่าวว่า “โดยปกติแล้วโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยๆ ในประเทศไทย คือ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic rhinitis) โรคหอบหืด (Asthma) และโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) โดยทั้งสามโรคจะเกิดอาการ เมื่อร่างกายได้รับสารกระตุ้นบางอย่าง และมีปฏิกิริยาตอบสนองสารกระตุ้นมากกว่าปกติหรือไวกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการแพ้ที่อวัยวะต่างๆ อาทิ ไอ จาม คัดจมูก คันตา มีน้ำมูก หรือเกิดอาการหายใจหอบเหนื่อย เพราะหลอดลมมีอาการหดเกร็งตัว ทั้งนี้ สารก่อภูมิแพ้ภายในบ้านสามารถเกิดได้จากทั้งไรฝุ่นบนที่นอน แมลง สัตว์เลี้ยงแสนรัก เชื้อราในบ้านหรือแม้กระทั่งการทำครัว” 

 

“สำหรับ 4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการดูแลลูกๆ เมื่อป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ นั่นคือ ล้างจมูก – ลูกต้องนอน – สอนให้ออกกำลัง – รวมพลังไปหาหมอ โดยแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียด ดังนี้

 

POM_4522  POM_4551  POM_4515 

 

1. ล้างจมูก

การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือนั้นแสนง่าย ช่วยให้จมูกโล่งได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และการล้างจมูกนี้มีประโยชน์มาก ทั้งช่วยชะล้างเอาน้ำมูกที่อุดตันเวลาเป็นหวัด ล้างสารก่อภูมิแพ้และสิ่งสกปรกออกไปจากจมูก ทำให้โพรงจมูกโล่ง สำหรับผู้ที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หากล้างจมูกก่อนการพ่นยาจะทำให้ยาพ่นจมูกออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นเพราะสัมผัสกับเยื่อบุจมูกได้มากขึ้นอีกด้วยนะคะ ** ควรฝึกหัดตั้งแต่เด็กน้อยอายุ 3 ขวบขึ้นไปและควรปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด

2. ลูกต้องนอน

การพักผ่อนให้เพียงพอ คือ สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเด็กๆ เพราะ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอจะเป็นตัวเสริมให้ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมได้อย่างเหมาะสม

3. สอนให้ออกกำลัง

การออกกำลังกายให้สมํ่าเสมอ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงทางร่างกายแล้ว ยังเสริมสร้างความอบอุ่นในครอบครัว คุณพ่อคุณแม่และคุณลูกได้ใช้เวลาสร้างสายสัมพันธ์ผ่านการออกกำลังกายร่วมกัน

4. รวมพลังไปหาหมอ

การใช้ยาตามแพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จะช่วยให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น

 

 

POM_4457POM_3345 POM_4461  

 

POM_3442POM_4829 POM_4817  

 

POM_4799POM_4767 POM_4692
ครอบครัวผู้เข้าร่วมงาน“รวมพลคนไม่(ยอม)แพ้ บาย Philips Air Purifier”

 

นอกจากเคล็ดลับดีๆ จากคุณหมอใหม่แล้ว ภายในงานยังจัดกิจกรรม “ชนะภูมิแพ้ด้วยโยคะ” จากสถาบัน Holistic Yoga ซึ่งกิจกรรมโยคะเป็นการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย เพราะการฝึกโยคะประกอบด้วย การบริหารกาย การบริหารการหายใจ และการฝึกความผ่อนคลาย ฝึกสมาธิ เป็นการฝึกทั้งด้านร่างกายและจิตใจไปพร้อมกัน เนื่องจากโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจมีปัจจัยหลายประการ ฉะนั้นในการฝึกจึงต้องฝึกอย่างเป็นองค์รวม (Holistic approach) โดยเริ่มจากการฝึกอาสนะในแนวผ่อนคลาย ร่วมกับการฝึกการหายใจแบบลึกๆ ช้าๆ ช่วยเรื่องบริหารปอด ฝึกการหายใจเข้าออกได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้อาการของภูมิแพ้ทุเลาลง อย่างไรก็ตาม การฝึกหายใจเพื่อบริหารปอดนั้น ควรให้ความสำคัญกับอากาศที่อยู่รอบตัวและอากาศที่เราหายใจเข้าไป นั่นคืออากาศต้องสะอาด ปราศจาก PM2.5 ซึ่งเป็นสารแปลกปลอมภายในอากาศที่ตาเรามองไม่เห็น

Comments

Share Tweet Line