วิศวกรรมศาสตร์ ศรีปทุม จับมือ จุฬาฯ ร่วมพัฒนานักศึกษา สู่ความเป็นเลิศด้านงานวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ด้านอาคารอัจฉริยะ

วิศวกรรมศาสตร์ ศรีปทุม จับมือ จุฬาฯ ร่วมพัฒนานักศึกษา สู่ความเป็นเลิศด้านงานวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ด้านอาคารอัจฉริยะ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผนึกกำลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย MOU ร่วมมือทางวิชาการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาการ พัฒนานักศึกษาและบุคลากร งานวิจัย และการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมด้านอาคารอัจฉริยะ


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม(ที่3จากขวา) และ ดร.เด่นชัย วรเดชจำเริญ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ขวาสุด)) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการ (MOU) กับ รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(ที่4จากซ้าย) และ รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ สิงหถนัดกิจ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ที่2จากซ้าย) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาการ การพัฒนานักศึกษาและบุคลากร การพัฒนางานวิจัย และการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมด้านอาคารอัจฉริยะ ณ ห้องศูนย์รวมใจ 1 อาคาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ด้วยเจตนารมณ์ของความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย จึงก่อให้เกิดการลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการร่วมกันในครั้งนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมมือในการดำเนินงานวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีอาคารอัจฉริยะเพื่อตอบสนองต่อนโยบายประเทศด้านการประหยัดพลังงานและเมืองอัจฉริยะ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในนโยบายประเทศไทย 4.0

นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาระบบอาคารอัจฉริยะ โดยอาศัยองค์ความรู้และความถนัดด้านระบบอาคารจากผู้เชี่ยวชาญของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผนวกกับองค์ความรู้และความถนัดด้านการวิเคราะห์การถ่ายเทพลังงานความร้อนในอาคารจากผู้เชี่ยวชาญของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผู้เชี่ยวชาญจากวิศวฯ ม.ศรีปทุม เป็นผู้รับผิดชอบด้านระบบควบคุมอาคาร และผู้เชี่ยวชาญจากวิศวฯ จุฬาฯ เป็นผู้รับผิดชอบด้านการวิเคราะห์และสร้างแบบจำลองทางด้านพลังงาน

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในโลกของธุรกิจ Sharing Economy คือเทรนของโลกใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยการแบ่งปันทรัพยากร ความคิดเห็น ประสบการณ์ และความรู้   วงการวิชาการก็เช่นกัน (Sharing Academic) การแบ่งปันทางวิชาการ จึงเกิดขึ้นที่นี่ เพื่อที่จะร่วมสร้างความรู้ประสบการณ์ ร่วมพัฒนานวัตกรรม และร่วมกันถ่ายทอดออกไปสู่ความเป็นเลิศต่อไป  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ กล่าว

REALATED NEWS

Comments

Share Tweet Line