วิศวฯ ม.ศรีปทุม สร้างชื่อ! โชว์ผลงานวิจัยนวัตกรรม คว้ารางวัล Angel Fund for Startup

วิศวฯ ม.ศรีปทุม สร้างชื่อ! โชว์ผลงานวิจัยนวัตกรรม คว้ารางวัล Angel Fund for Startup

อาจารย์และนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ไอเดียเจ๋ง สร้างชื่อ โชว์ผลงานวิจัยสู่นวัตกรรม Startup Platform อัจฉริยะ เพื่อวินิจฉัย ค่าพลังงานแบบอัตโนมัติสำหรับระบบปรับอากาศ คว้ารางวัล ANGEL FUND FOR STARTUP & NEC AWARD 2018 พร้อมรับเงินทุนสนับสนุน 500,000 บาท


 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ อาจารย์และศิษย์เก่านักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ทีม TIE smart solution ซึ่งประกอบด้วย นายสมเกียรติ โสะหาบ  ศิษย์เก่าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า(ที่2จากซ้าย) ผู้ก่อตั้งบริษัทฯ และ ดร. เด่นชัย วรเดชจำเริญ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม(ซ้ายสุด)ที่ปรึกษาบริษัทฯ ได้รับรางวัล ANGEL FUND FOR STARTUP & NEC AWARD 2018 กิจกรรมเชื่อมโยงให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อจัดตั้งกิจการ (Angel Fund) และกิจกรรมจัดเวทีประกวดผู้ประกอบการที่ยั่งยืน (NEC Award) ภายใต้โครงการสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจ ปี2561 เข้ารับโล่รางวัลและเกียรติบัตรพร้อมด้วยเงินทุน 500,000 บาท จากผลงานวิจัยสู่นวัตกรรม Startup Platform อัจฉริยะ เพื่อวินิจฉัย ค่าพลังงานแบบอัตโนมัติสำหรับระบบปรับอากาศ ซึ่งมีอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีฯ ณ ห้องประชุม ชั้น 6 โซน A อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ จัดโดย กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เอ็กเซลเลนท์ บิสเนส แมเนจเม้นท์ จำกัด

          ดร.เด่นชัย วรเดชจำเริญ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าว่า ผลงานของทีม TIE smart solution ที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลงานนวัตกรรม “ระบบ platform อัจฉริยะ เพื่อการวินิจฉัยการสิ้นเปลืองพลังงานแบบอัตโนมัติสำหรับระบบปรับอากาศ แบบเครื่องทำน้ำเย็น เรียกว่า” AI platform for energy loss diagnostics of chiller air-conditioning systems” จุดเด่นนวัตกรรม โดยการใช้ machine learning algorithm, แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ในรูปแบบของ Big Data ในการวินิจฉัยค่าพลังงานเป็น Non-Invasive ไม่ยุ่งเกี่ยวกับระบบเดิม ใช้ร่วมกับอุตสหกรรมอาคารทุกรูปแบบ จากการทดสอบระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ มากกว่า 10 อาคาร และข้อมูลมาตรฐานจากประเทศสหรัฐอเมริกา ดร.เด่นชัย กล่าว

REALATED NEWS

Comments

Share Tweet Line