แช่ง

 แช่ง

คุณรู้จักคำว่า "แช่ง" ดีแค่ไหน?   ว่าด้วยเรื่องคำสาปแช่ง คำว่า "สาปแช่ง" ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า "กล่าวมุ่งร้ายให้ผู้อื่นเป็นอันตรายอย่างร้ายแรง"    ในประวัติศาสตร์ มีจารึก และ บันทึก มากมายเกี่ยวกับเรื่อง คำสาปแช่ง ไม่ว่าการ “เผาพริกเผาเกลือ” ที่รู้จักกันโดยทั่วไปในระดับชาวบ้าน หรือแม้กระทั่งในส่วนของการทหารที่มีการ “ตัดไม้ข่มนาม” ที่เป็นการหาพันธุ์ไม้ที่มีชื่อใกล้เคียงกับข้าศึก เอามาตัดให้ขาดสะบั้น สร้างความอัปมงคลให้ฝ่ายตรงข้าม 


แต่กระนั้นถ้าถามว่าเรารู้จักคำว่า “แช่ง” มากน้อยเพียงใด  เราลองลงลึกลงไปถึงคำว่าแช่ง ที่คติความเชื่อ และเงื่อนไขของมัน  คติความเชื่อโบราณเชื่อว่าคำสาปแช่งจะเป็นจริงตามผู้สาปแช่งได้ในกรณีดังต่อไปนี้

1.คำสาปแช่งจากคนดี
หากคนดี มีศีลธรรม โดนผู้ไร้ศีลธรรมกระทำการโดยเจตนา ให้ต้องทนทุกข์เดือดร้อนจากการะกระทำนั้นๆ จนก่อเกิดเป็นความเกลียดชัง อาฆาตต่อผู้ไร้ศีลธรรมผู้นั้น แล้วกล่าวสาปแช่ง ผลจะเกิดเป็นจริงกับผู้กระทำตามคำสาปแช่ง ความรุนแรงจะมากน้อยขึ้นกับความรุนแรงที่ผู้ไร้ศีลธรรมได้กระทำให้ทุกข์ทรมาน

2.คำสาปแช่งอันเกิดจากตบะของผู้สาปแช่ง
กรณีแรก คือ ตบะ หรือ ความเพียรที่สะสมของบุคคลหนึ่งที่ได้ทำไว้ และได้กล่าวคำมุ่งร้ายต่อผู้ที่คิดจะมาคุดคามตน หรือ ทรัพย์สมบัติของตน ยกตัวอย่างเช่น คำสาปของฟาโรว์ที่สาปแช่งไว้ต่อผู้ที่จะเข้ามารุกล้ำทรัพย์สมบัติ หรือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ ที่ใช้ถือน้ำพิพัฒสัตยา มิให้ข้าราชการขุนนางคิดคดต่อแผ่นดิน
หรือ กรณีที่สอง อาจหมายถึง ตบะของผู้ที่สั่งสมบำเพ็ญเพียรบารมีอันเรียกว่า “วาจาสิทธิ์” ที่พูดสิ่งใดก็เป็นอย่างนั้น

3.คำสาปแช่งจากพิธีกรรม
เป็นรูปแบบที่จากต่างกันไปแต่ละท้องที่ ซึ่งพิธีกรรมการสาปแช่ง มีขึ้นแทบจะทุกที่บนโลก มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล โดยอาศัยความเชื่อทางไสยศาสตร์และจิตวิทยา เพื่อระบายความคับแค้นใจต่อผู้ที่กระทำการละเมิดต่อเรา

ไม่ว่าคำสาปแช่งจะได้ผลจริงตามจิตอาฆาตของผู้แช่งหรือไม่ แต่เราจะเห็นว่ามันมีนัยยะของการระบายความอัดอั้นตันใจ ต่อสิ่งที่ตนไม่อาจกระทำการใดใดต่อความคับแค้นใจที่ถูกกระทำได้ในชีวิตจริงซ่อนอยู่ ความเชื่อเรื่องคำสาปแช่งจึงมีมาจนถึงปัจจุบัน ที่แม้โลกจะวิวัฒนาการไปมากแค่ไหน แต่ก็ยังมีหลายคนเลือกวิธีการนี้เป็นสัญลักษณ์ระบายความรู้สึกคับแค้น ข้องใจ หรือไม่อาจลงทัณฑ์คนชั่วในชีวิตจริงได้ แต่อย่างน้อยในทางจิตวิยา การสาปแช่งอาจจะเป็นหนทางเดียวที่เราสามารถบรรเทาความเจ็บปวดจากการถูกกระทำ 

 

แต่ก็มีไม่น้อย ที่คำแช่งได้บันดาลความทุกขเวทนาต่อผู้ที่อาฆาต และ ถูกอาฆาต ก่อให้เกิด "โศกนาฏกรรม...แห่งคำอาฆาต"  ในภาพยนตร์เรื่อง "แช่ง" 16 มกราคม 2562 ในโรงภาพยนตร์   

Comments

Share Tweet Line