LAGOM ปรัชญาความสุขรูปแบบใหม่จากสวีเดนที่ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป

LAGOM ปรัชญาความสุขรูปแบบใหม่จากสวีเดนที่ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป

ลากอม คืออะไร ทำไมคุณถึงต้องรู้ และถ้าคุณรู้ คุณจะนำไปไปใช้ได้อย่างไร หนังสือเล่มนี้จะมาสร้างควาเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อการใช้ชีวิตแบบลากอมกัน


เมื่อเร็วๆ นี้ สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ยกย่องสวีเดนว่าเป็นประเทศที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ เกือบทุกด้าน เป็นรัฐสวัสดิการที่น่าอิจฉา มีสวัสดิการยอดเยี่ยม และมีอัตราการฉ้อราษฎร์บังหลวงต่ำมาก นอกจากนี้ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความสุขเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก สร้างความสงสัยไปทั่วโลกว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้สวีเดนมาถึงจุดนี้คำตอบคือ การดำเนินวิถีชีวิตแบบ ‘ลากอม’ (LAGOM)

ในปี 1996 โจนัส การ์เดลล์ (Jonas Gardell) นักเขียนชื่อดังได้ตั้งชื่อเล่นใหม่ให้สวีเดนว่า “ประเทศนมกึ่งพร่องมันเนย” (mellanmjölk) เนื่องจากมองว่านมกึ่งพร่องมันเนยเป็นนมที่สมบูรณ์แบบที่สุด เพราะไม่มันเกินไป หรือจืดจางเกินไป ซึ่งชาวสวีเดนต่างยอมรับกันอย่างหน้าชื่นตาบานและเรียกขานกันมานับตั้งแต่นั้น สวีเดนเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับความสมดุลและเทิดทูนความยุติธรรม ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้ เป็นประเทศที่รักผนังสีขาว และการออกแบบที่เน้นประโยชน์ใช้สอย และนี่แหละคือลักษณะของประเทศที่มีความลากอม

ถ้าให้อธิบายง่ายๆ ลากอม คือแนวคิดที่เดินบนทางสายกลาง ไม่นิยมความฟุ้งเฟ้อ และไม่ทำอะไรที่น้อยเกินไป เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมานิตยสารแฟชั่นชั้นสูงทรงอิทธิพลในการกำหนดเทรนด์ใหม่ๆ อย่างVogue และ Elle ได้กระพือความนิยมให้ ลากอม มากขึ้น โดยจัดให้เป็นกะแสใช้ชีวิตแบบสแกนดิเนเวียนที่มาแรงแซงปรัชญา ฮุกกะ ของเดนมาร์ก และมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นแนวคิดที่เรียบง่ายและปรับใช้ได้เกือบทุกสังคม

ลากอม ไม่ใช่แนวคิดที่ตั้งชื่อให้ดูเก๋ไก๋เฉยๆ  แต่มันได้แทรกซึมลงไปในวิถีชีวิตของชาวสวีเดนทุกเรื่องจนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของพวกเขาไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ‘อยู่แบบลากอม’ ให้ความสำคัญกับการแสดงความคิดเห็น ไม่แบ่งแยกระดับขั้น ทั้งยังมีช่วงเวลาพักดื่มกาแฟเพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลายในสถานที่ทำงานด้วย, ‘กินแบบลากอม’ เสาะหาวัตถุดิบจากธรรมชาติ เน้นปรุงอาหารเอง และรับประทานอย่างพอประมาณ, ‘สไตล์ลากอม’ เรียบง่ายแต่ดูดี เน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, ‘ความรู้สึกแบบลากอม’ รักชีวิตกลางแจ้ง เดินเท้าแทนการนั่งรถ และมุ่งเข้าหาธรรมชาติ และ ‘การเข้าสังคมแบบลากอม’ ไว้วางใจกันเเละกัน พูดตรงไปตรงมา และชอบเข้าสมาคม

อธิบายให้สั้นที่สุด ลากอม ก็คือ “ความพอดี” เช่น นมปริมาณพอดีในกาแฟ หรือแรงกดที่พอดีในการนวด ในเชิงนามธรรม ลากอม มีความหมายซับซ้อนกว่านั้น คือ การทำสิ่งใด ๆ อย่างสมดุลภายใต้กฎระเบียบของสังคม เช่น การไปค้างบ้านเพื่อนในวันหยุดโดยนำผู้ปูที่นอนไปเอง เพื่อแบ่งเบาภาระของเพื่อน การมีสิทธิ์ลางานเมื่อลูกป่วยโดยได้รับค่าจ้าง แต่ไม่ใช้สิทธิ์ดังกล่าวในทางที่ผิด การซื้อรถที่เหมาะกับการใช้สอยแม้จะไม่สวย การเล่นสีบนกำแพงด้านเดียวในห้องนั่งเล่น ปล่อยอีกสามด้านเป็นสีขาว เพราะการเล่นสีสันทั้งห้องดู “เยอะไป” การกินเบอร์เกอร์ แต่งดเฟรนช์ฟรายส์ เพราะการเดินทางสายกลางคือความดีงาม หรือการนำของที่กินเหลือมาดัดแปลงเป็นอาหารจานใหม่ เพราะไม่ควรกินทิ้งกินขว้าง

ดังสุภาษิตสวีเดนกล่าวว่า “ความพอดีนี่แหละ ดีที่สุด” ฉะนั้น หากใครที่อยากหลบหนีโลกทุนนิยมที่ฟุ้งเฟ้อมาสู่ความสุขแบบเรียบง่ายอันกลมกล่อม ลากอม คือคำตอบของคุณ

พบกับหนังสือ LAGOM ความพอดีนี่แหละดีที่สุด ในเครืออมรินทร์จากสำนักพิมพ์ STEPS นำเสนอ ศาสตร์แห่งความพอเพียง หรือการใช้ชีวิตในทางสายกลาง ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มชาวยุโรปในขณะนี้ เขียนโดย ลินเนีย ดันน์ (Linnea Dunne) วางจำหน่ายแล้ววันนี้ที่ร้านนายอินทร์ และร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ ราคาเล่มละ 255 บาท หรือสั่งซื้อผ่านทาง www.amarinbooks.com

REALATED NEWS

Comments

Share Tweet Line