หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ นำเสนอ ICT แนวใหม่ ผสานความเป็นอัจฉริยะการเชื่อมต่อ และแพลตฟอร์มดิจิทัล

หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ นำเสนอ ICT แนวใหม่ ผสานความเป็นอัจฉริยะการเชื่อมต่อ และแพลตฟอร์มดิจิทัล

หัวเว่ย เปิดงาน Global Analyst Summit (HAS) ประจำปีครั้งที่ 16 เมื่อเร็วๆนี้ ที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน ซึ่งภายในงาน กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอรไพรส์ของหัวเว่ย (หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์) พร้อมด้วยบริษัท Vanke และสถาบันวิจัยบิ๊กดาต้าเมืองอัจฉริยะเซินเจิ้น (Shenzhen Big Data Research Institute of Smart City) รวมถึงเหล่านักวิเคราะห์และผู้นำทางความคิดจากทั่วโลก ได้ร่วมกันอภิปรายถึงความสำคัญของการเชื่อมต่อและความเป็นอัจฉริยะ ในขณะที่องค์กรธุรกิจและรัฐบาลต่างพยายามเร่งผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล 


ในการกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "Leading New ICT – Intelligence, Connectivity and Platform" นายชิว เหิง ประธานฝ่ายการตลาดทั่วโลกของหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ กล่าวว่า “การวางตำแหน่งใหม่ของหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบการเชื่อมต่อที่เข้าถึงทุกหนแห่งและความเป็นอัจฉริยะที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนแก่รัฐบาลและลูกค้าองค์กร ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรของเรา เรามุ่งมั่นที่จะสร้างรากฐาน ICT ที่แข็งแกร่งสำหรับโลกดิจิทัลผ่านการสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ผสมผสาน ICT รูปแบบใหม่ดังกล่าว เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์”

ในด้านการเชื่อมต่อ ซึ่งเป็นสาขาที่หัวเว่ยเป็นผู้นำ นายชิว เหิง ได้ชูผลิตภัณฑ์ AirEngine ซึ่งเป็น Wi-Fi 6 AP ที่สนับสนุนโดยเทคโนโลยี 5G ของหัวเว่ย และ CloudEngine ซึ่งเป็นสวิตช์เครือข่ายศูนย์ข้อมูลที่เร็วที่สุดสำหรับยุค AI นายชิว เหิง อธิบายว่า หัวเว่ยสามารถขยายความเป็นอัจฉริยะครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ ด้วยการรวม AI เข้าในผลิตภัณฑ์ คลาวด์ และโซลูชั่นอุตสาหกรรม นอกจากนี้ นายชิว เหิง ยังได้แนะนำกล้อง AI ตัวแรกของโลกที่กำหนดการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจุดแข็งของหัวเว่ยไม่ได้อยู่เพียงแค่กล้องโทรศัพท์มือถือเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงกล้องระดับองค์กรด้วย นายชิว เหิง ยังได้เปิดเผยให้ผู้ร่วมงานได้รับทราบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ All-Flash OceanStor Dorado ของหัวเว่ย ที่รวมความสามารถอัจฉริยะหลากหลายด้าน และเป็นโซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลชที่เร็วที่สุดในโลก

แพลตฟอร์มดิจิทัลของหัวเว่ยหนุนอุตสาหกรรมแนวดิ่งเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้เร็วขึ้น

แพลตฟอร์มดิจิทัลของหัวเว่ยสามารถรับมือกับความท้าทายหลักในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ซึ่งก็คือ การเชื่อมโลกกายภาพกับโลกดิจิทัลเข้าด้วยกันเพื่อกระตุ้นการใช้งานข้อมูลที่หยุดนิ่งในโลกกายภาพ แพลตฟอร์มระดับอุตสาหกรรมของหัวเว่ยช่วยเชื่อมต่อข้อมูล IT และ OT รวมขีดความสามารถด้านต่าง ๆ จากหลากหลายอุตสาหกรรม และสั่งสมความรู้ในอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องตามข้อกำหนดของอุตสาหกรรม นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังเชื่อมโยงนักพัฒนาในอุตสาหกรรมเข้าด้วยกันเพื่อเร่งสร้างนวัตกรรม และสนับสนุนการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมแนวดิ่ง

ไซม่อน หลี่ รองผู้จัดการทั่วไปของ Wanyi Technology ในเครือ Vanke ได้แบ่งปันวิธีการที่แพลตฟอร์มดิจิทัลของหัวเว่ยช่วยให้ Vanke เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล นายหลี่กล่าวว่า “โมเดลธุรกิจแบบมัลติบิสสิเนส มัลติโลเคชั่น และมัลติเซอร์วิส ทำให้ Vanke ต้องเผชิญกับข้อกำหนดใหม่ ๆ ในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ซึ่งหัวเว่ยได้เข้ามาช่วยด้วยการจัดหาแพลตฟอร์มดิจิทัลที่รวมเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น บิ๊กดาต้า IoT และ AI เพื่อช่วยเราพัฒนาธุรกิจออฟไลน์ และสร้าง Vanke แบบออนไลน์ที่มีความเป็นหนึ่งเดียวโดยอาศัยเครือข่ายแคมปัสดิจิทัลที่เป็นอัจฉริยะ ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ เรามีฟังก์ชั่นการทำงานที่มีบริการเป็นพื้นฐาน มีบริการที่มีผลิตภัณฑ์เป็นพื้นฐาน มีผลิตภัณฑ์ที่มีแพลตฟอร์มเป็นพื้นฐาน และมีแพลตฟอร์มที่มีระบบนิเวศเป็นพื้นฐาน” 

เฉิน ตงผิง ประธานสถาบันวิจัย Shenzhen Big Data Research Institute of Smart City ซึ่งเข้าร่วมงานประชุมครั้งนี้ ได้แสดงความหวังสำหรับอนาคตว่า “ความแตกต่างระหว่างแพลตฟอร์มดิจิทัลในยุคดิจิทัล กับแพลตฟอร์มข้อมูลแห่งยุคอุตสาหกรรมนั้น อยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงที่ว่า แพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นตัวสนับสนุนเมืองทั้งเมือง ในขณะที่แพลตฟอร์มข้อมูลช่วยสนับสนุนเฉพาะอุตสาหกรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีแพลตฟอร์มดิจิทัลระดับเมืองที่มีความเป็นหนึ่งเดียว ก็จะไม่มีเมืองอัจฉริยะหรือรัฐบาลดิจิทัลอย่างแท้จริง”

AirEngine ผลิตภัณฑ์ Wi-Fi 6 AP ที่สนับสนุนโดยเทคโนโลยี 5G ของหัวเว่ย ช่วยขับเคลื่อนการเชื่อมต่อและความเป็นอัจฉริยะ 

หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ มีผลิตภัณฑ์เรือธงมากมายที่เป็นผู้นำตลาดการเชื่อมต่อและความเป็นอัจฉริยะ ที่เห็นได้ชัดคือ ผลิตภัณฑ์ AirEngine ของหัวเว่ย ซึ่งเป็น Wi-Fi 6 AP เชิงพาณิชย์ตัวแรกของโลกที่มีการนำเทคโนโลยี 5G ของหัวเว่ยมาใช้เพื่อบรรลุอัตราการรับส่งข้อมูลที่สูงที่สุดในอุตสาหกรรม รายงานผลการทดสอบจาก Tolly ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการทดลองอิสระชั้นนำ เปิดเผยว่า Wi-Fi 6 ของหัวเว่ยมีความเร็วกว่าผลิตภัณฑ์คู่แข่งที่ใกล้เคียงที่สุดถึง 1 Gbps และด้วยการใช้เทคโนโลยีวิทยุอัจฉริยะ 5G ทำให้ Wi-Fi 6 ของหัวเว่ยมีพื้นที่ครอบคลุมมากกว่ามาตรฐาน Wi-Fi 6 ของอุตสาหกรรมถึง 40% นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีเร่งความเร็วยังทำให้ Wi-Fi 6 ของหัวเว่ยมีค่าความหน่วงต่ำเพียง 10 ms ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐาน Wi-Fi 6 ในอุตสาหกรรมถึง 50% ดังนั้นจึงไม่พบความติดขัดในระหว่างการใช้เทคโนโลยี Virtual Reality (VR) หรือ Augmented Reality (AR) และด้วยการนำเทคโนโลยีสัญญาณมือถือ 5G มาใช้กับ Wi-Fi ยังทำให้ Wi-Fi 6 ของหัวเว่ย สามารถป้องกันรถยนต์ที่มีระบบนำทางอัตโนมัติ (AGV) จากกรณีข้อมูลสูญหายในช่วงที่มีการเปลี่ยน AP ทั้งยังสามารถใช้สัญญาณได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพทั่วเครือข่ายแคมปัส

กลยุทธ์ "Platform + AI + Ecosystem" ของหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ เน้นไปที่ความร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อมอบการเชื่อมต่อที่เข้าถึงทุกแห่งและความเป็นอัจฉริยะที่ครอบคลุมสำหรับลูกค้าทั้งที่เป็นหน่วยงานรัฐและบริษัท นอกจากนี้ หัวเว่ยยังเป็นผู้ส่งมอบแพลตฟอร์มดิจิทัลที่รวม ICT รูปแบบใหม่ เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์ ปัจจุบันเมืองต่าง ๆ กว่า 700 แห่งทั่วโลก และบริษัทในทำเนียบ Fortune Global 500 อีก 211 แห่ง ซึ่งรวมถึงบริษัทที่ติด 100 อันดับแรกจำนวน 48 แห่ง ได้เลือกหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นพันธมิตรสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

งาน Huawei Global Analyst Summit 2019 จัดขึ้นในวันที่ 16-18 เมษายน โดยภายในงานประกอบด้วยการประชุมหลากหลายหัวข้อ และผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมจากทั่วโลก ซึ่งจะมามอบความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับหัวข้อและแนวโน้มต่าง ๆ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.huawei.com/en/press-events/events/has2019

 

REALATED NEWS

Comments

Share Tweet Line