โครงการ Healthy Digital Family เสพสื่อ ใช้สติ มีสไตล์ ให้สตรอง จัดประกวดผลิตสื่อคลิปวิดีโอและอินโฟกราฟิก

โครงการ Healthy Digital Family เสพสื่อ ใช้สติ มีสไตล์ ให้สตรอง จัดประกวดผลิตสื่อคลิปวิดีโอและอินโฟกราฟิก

ในยุคที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าไปสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและความสามารถในการเสพสื่ออย่างสร้างสรรค์ กลายเป็นเป็นเรื่องสำคัญในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เล็งเห็นความจำเป็นในการสร้างการรับรู้และส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สื่อดิจิทัลแก่ประชาชน โดยเฉพาะสถาบันครอบครัวซึ่งเป็นปราการสำคัญที่สุดในการป้องกัน ดูแล คัดกรองและปลูกฝังภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนไทยให้ตระหนักถึงผลกระทบและภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้น รวมไปถึงการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่ออย่างถูกต้อง เพื่อสร้างรากฐาน  การดำรงชีวิตที่แข็งแรงสำหรับประชาชนและสังคมไทย 


และเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า ๗๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นกิจกรรมใน โครงการ Healthy Digital Family “เสพสื่อ ใช้สติ มีสไตล์ ให้สตรอง” โดยเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปร่วมส่งผลงานการผลิตสื่อคลิปวิดีโอและอินโฟกราฟิก  แสดงแนวคิดในการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ ปลอดภัยและมีวัฒนธรรม

อย่าพลาดโอกาสดีๆ ที่จะมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อแสดงแนวความคิดในการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ ปลอดภัย และมีวัฒนธรรม ในหัวข้อการ เสพสื่อ ใช้สติ มีสไตล์ ให้สตรอง ชิงรางวัลรวมกว่า 700,000 บาท เปิดรับผลงานตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 25 มิถุนายน 2562

จึงเรียนมาเพื่อขอความอนุเคราะห์ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ ทางผู้จัดโครงการฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานขอท่านเป็นอย่างดี ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้

กติกาการส่งผลงานเข้าประกวด

โครงการ Healthy Digital Family เสพสื่อ ใช้สติ มีสไตล์ ให้สตรอง 

กิจกรรมประกวดผลิตสื่อคลิปวิดีโอและอินโฟกราฟิก “DIGIFAM AWARDS”

หัวข้อการประกวด “เสพสื่อ ใช้สติ มีสไตล์ ให้สตรอง”

ประเภทการประกวด แบ่งออกเป็น  ๒ ประเภท

๑. ผลิตสื่อวิดีโอ

๒. ผลิตสื่ออินโฟกราฟิก

คุณสมบัติผู้สมัคร

๑. ระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า (ส่งผลงานในนามสถาบันการศึกษาเท่านั้น)

๒. ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (ส่งผลงานในนามสถาบันการศึกษาเท่านั้น)

๓. ระดับประชาชนทั่วไป

๔. สมัครส่งผลงานได้ทั้งแบบเดี่ยว หรือแบบทีม (มากกว่า ๑ คน และไม่จำกัดสมาชิกในทีม)

กติกาการสมัคร

๑. ผู้สมัครเข้าประกวดในประเภทนักเรียนและนักศึกษาต้องส่งผลงานในนามสถาบันการศึกษาโดยแต่ละสถาบันการศึกษาสามารถส่งผลงานเข้าแข่งขันได้มากกว่า ๑ ผลงานและมีอาจารย์ประจำสถาบันนั้นๆ ลงนามรับรอง ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาและถือเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในทีม (อาจารย์ ๑ ท่าน สามารถลงนามรับรองในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับทีมที่เข้าแข่งขันได้มากกว่า ๑ ทีม)

๒. ผลงานคลิปวิดีโอที่ส่งเข้าประกวดภายใต้แนวคิด “เสพสื่อ ใช้สติ มีสไตล์ ให้สตรอง” ในโครงการ Healthy Digital Family ต้องมีความยาวไตเติ้ลหัวและเครดิตปิดท้ายไม่เกิน ๓ นาที  

๓. ผลงานคลิปวิดีโอที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีตราสัญลักษณ์ (LOGO) ของโครงการ Healthy Digital Family ตอนเริ่ม และตราสัญลักษณ์ (LOGO) ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ปิดท้าย

๔. ผลงานที่ส่งเข้าร่วมการประกวดอินโฟกราฟิก ภายใต้แนวคิด “เสพสื่อ ใช้สติ มีสไตล์ ให้สตรอง” ภายใต้โครงการ Healthy Digital Family ต้องมีขนาด A3 (๒๙๗ x ๔๒๐ มม. หรือ ๑๑.๖๙ x ๑๖.๕๔ นิ้ว) ตราสัญลักษณ์ (LOGO) ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ด้านบนของอินโฟกราฟิก)

๕. ฟอนต์ภาษาไทยที่ใช้ในการประกวดต้องเป็นพยัญชนะภาษาไทยมีหัว อย่างเช่น DB fongnum TH Sarabun New เป็นต้น

๖. คลิปวิดีโอผลงานจะต้องมีบทบรรยายภาษาไทย (Thai Subtitle) ด้านล่าง

๗. สามารถส่งผลงานได้มากกว่า ๑ ผลงานต่อทีม โดยไม่จำกัดประเภทการประกวด

๘. การตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด

เงื่อนไขในการส่งผลงานเข้าประกวด

๑. ผู้สมัครเข้าประกวดต้องจัดเตรียมอุปกรณ์พร้อมดำเนินการผลิตเองทั้งหมดและเป็นผู้รับผิดชอบต่อลิขสิทธิ์ของข้อมูลได้แก่ เนื้อหา ภาพ เสียง คลิป วิดีโอ ซอฟต์แวร์ หรืออื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงานโดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาและมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน

๒. ไม่จำกัดรูปแบบการนำเสนอ เทคนิคการถ่ายทำ เทคนิคการผลิต และการตัดต่อ โดยผลงานทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของผลงานที่ส่งเข้าร่วมโครงการ จะต้องเป็นผลงานที่จัดทำขึ้นใหม่หรือไม่เคยมีการนำเสนอที่ใดมาก่อน และต้องไม่เคยเข้าประกวดหรือได้รับรางวัลใดมาก่อน

๓. ภาพและเสียงที่ปรากฏในผลงานต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม ไม่หลบลู่ต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ และไม่มีเนื้อหา กริยาที่ไม่สุภาพ หยาบคาย ลามกอนาจารให้ร้ายผู้ใด

๔. ผลงานทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวด ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในสื่อทุกรูปแบบในนามของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

๕. ผลงานที่ได้รับรางวัลถือเป็นลิขสิทธิ์ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีสิทธิ์นำไปเผยแพร่ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงาน

๖. ผู้เป็นคณะกรรมการและผู้มีส่วนร่วมในโครงการไม่มีสิทธิ์ในการส่งผลงานเข้าประกวดและชิงรางวัล

๗. เจ้าของผลงานที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด (ทั้งแบบเดี่ยว หรือแบบทีม) จะได้ร่วมพิธีประกาศรางวัลของกิจกรรมการประกวดผลิตสื่อคลิปวิดีโอและอินโฟกราฟิก “DIGIFAM AWARDS” ในโครงการ Healthy Digital Family เสพสื่อ ใช้สติ มีสไตล์ ให้สตรอง เพื่อรับถ้วยรางวัลพระราชทาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และเงินรางวัลในแต่ละประเภท

๘. ผู้ได้รับรางวัลจะต้องเสียภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ ๕  พร้อมแสดงบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นๆ ที่ออกโดยราชการ เพื่อยืนยันตัวตนในวันประกาศผลมอบรางวัล

๙. เงื่อนไขอื่นๆ นอกเหนือจากข้อกำหนดข้างต้นให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการโดยผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นเด็ดขาดและสิ้นสุด

วิธีการสมัคร

๑. ดาวน์โหลดใบสมัครและรายละเอียดได้ที่ Facebook Fanpage: digifamawards หรือ www.crahdfamily.com

๒. ผู้สมัครต้องกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน พร้อมตั้งชื่อทีม

ประเภทคลิปวิดีโอ:

· ส่งผลงานในรูปแบบไฟล์นามสกุล AVI, MPEG4, MP4, MPG, WMV หรือ MOV ความยาวไม่เกิน ๓ นาที พร้อมแนวคิดในการสร้างสรรค์คลิปวิดีโอความยาวไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ A4

· ส่งผลงานที่มีความละเอียดไม่น้อยกว่า Full HD (๑๙๒๐ x ๑๐๘๐ Pixel)

ประเภทอินโฟกราฟิก:

· ส่งผลงานขนาด A3 (๒๙๗ x ๔๒๐ มม. หรือ ๑๑.๖๙ x ๑๖.๕๔ นิ้ว)

· ส่งผลงานในรูปแบบไฟล์นามสกุล .JPEG และ .AI พร้อมแนวคิดในการสร้างสรรค์อินโฟกราฟิกความยาวไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ A4

๓. ส่งผลงานและใบสมัครทาง email: [email protected]

เกณฑ์การตัดสิน

๑. การตัดสินจากคณะกรรมการ ( ๑๐๐% )

· เนื้อหา     ๒๕       คะแนน

· ความคิดสร้างสรรค์      ๒๕       คะแนน

· คุณภาพของการผลิตและผลงาน    ๒๐       คะแนน

· เทคนิคการนำเสนอ    ๒๐       คะแนน

· การใช้ภาษา    ๑๐        คะแนน

๒. การตัดสินรางวัล Popular vote จากคะแนนโหวต (Vote) ในสื่อออนไลน์ ๒ ช่องทางดังนี้

ประเภทผลิตสื่อคลิปวิดีโอ  โพสต์ในสื่อวิดีโอออนไลน์ช่องทาง Youtube Channel : Chulabhorn Royal Academy

ประเภทผลิตสื่ออินโฟกราฟิก โพสต์ในสื่อสังคมออนไลน์ช่องทาง Facebook Fanpage: digifamawards

· ผลงานที่ผ่านการพิจารณาจะได้โพสต์ลงสื่อออนไลน์ (แยกประเภท) ตามลำดับการส่งผลงาน

· ผู้โหวตต้องร่วมแสดงความรู้สึก เช่น กดไลก์ (Like) หรือร่วมชม (View)

· คะแนนจากการร่วมแสดงความรู้สึก

สื่อคลิปวิดีโอ กดไลก์ (Like) ๑ คะแนน, ร่วมชม (View) ๒ คะแนน, แชร์ (Share) ๓ คะแนน

สื่ออินโฟกราฟิก กดไลก์ (Like) ๑ คะแนน, แชร์ (Share) ๒ คะแนน

· ผู้มีสิทธิโหวตเป็นบุคคลทั่วไปไม่จำกัดอายุ เพศ

รางวัลการประกวด

๑. ประเภทผลิตสื่อคลิปวิดีโอ

· รางวัลแบ่งตามระดับของผู้เข้าประกวด

รางวัล ที่ ๑  รับเงินรางวัล ๘๐,๐๐๐ บาท พร้อมถ้วยพระราชทาน

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

รางวัล ที่ ๒  รับเงินรางวัล ๔๐,๐๐๐ บาท พร้อมใบประกาศ

รางวัล ที่ ๓  รับเงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมใบประกาศ 

รางวัลชมเชย รับเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๒ รางวัลพร้อมใบประกาศ 

·  รางวัล Popular vote รับเงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท จำนวน ๑ รางวัล

๒. ประเภทผลิตสื่ออินโฟกราฟิก

· รางวัลแบ่งตามระดับของผู้เข้าประกวด

รางวัล ที่ ๑  รับเงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาท พร้อมถ้วยพระราชทาน

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

รางวัล ที่ ๒ รับเงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมใบประกาศ

รางวัล ที่ ๓  รับเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมใบประกาศ 

รางวัลชมเชย รับเงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท จำนวน ๒ รางวัลพร้อมใบประกาศ

· รางวัล Popular vote รับเงินรางวัล ๓,๐๐๐ บาท จำนวน ๑ รางวัล

กำหนดการกิจกรรม

๑ พฤษภาคม - ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๒  เปิดรับสมัครและส่งผลงาน

๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๒  ปิดรับผลงาน เวลา ๒๔.๐๐ น. ของวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๒       

๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒  ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบ ๕ ทีมสุดท้ายตามประเภทการประกวดแบ่งตามระดับ

๑ พฤษภาคม - ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒ กิจกรรม Popular vote (ปิดนับคะแนนคืนวันที่ ๑๙  กรกฎาคม เวลา ๒๔.๐๐ น.)

๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ประกาศผลการประกวด ณ สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์

Comments

Share Tweet Line