ทำไมทอม โพธิสิทธิ์ถึงเป็นช่างภาพที่สร้างแรงสั่นสะเทือนมากที่สุดในประเทศไทย

ทำไมทอม โพธิสิทธิ์ถึงเป็นช่างภาพที่สร้างแรงสั่นสะเทือนมากที่สุดในประเทศไทย

โลกของศิลปะไม่ได้เป็นไปตามกฎเกณฑ์เสมอไป ส่วนหนึ่งที่ทำให้งานศิลปะมีความจำเป็นต่อวัฒนธรรมในวันนี้ คือผลงานที่ยอดเยี่ยมและศิลปินที่อยู่เบื้องหลังที่ไม่ยอมถูกกักขังตามแบบแผน พวกเขาตัดสินใจเองว่าจะสร้างสรรค์งานอย่างไร เมื่อไหร่ และในที่สุดจะแบ่งปันผลงานของพวกเขากับโลกได้อย่างไร


ในฐานะช่างภาพอิสระ ทอม โพธิสิทธิ์ ไม่จำเป็นต้องทำตามกฎ ในทางตรงกันข้าม ด้วยความที่ทอมเป็นหนึ่งในผู้ที่อยู่เบื้องหลังการถ่ายภาพแฟชั่นที่โด่งดังของประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เขาจะคอยตั้งคำถามเกี่ยวกับแนวความคิดเดิม ๆ ด้วยรูปภาพที่สร้างแรงสั่นสะเทือนและให้ความรู้สึกที่ลึกซึ้งอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม ผลงานของเขายังสะท้อนถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เขาหลงใหลมากที่สุด ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมไทยและโลกโดยรวม งานของเขามักจะท้าทายสิ่งที่เป็นอยู่โดยการมองหามุมที่แตกต่างของวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ผู้คน ธรรมชาติ สัตว์ และประวัติศาสตร์ด้านศิลปะ

โครงการล่าสุด “ศิลปะเพื่อมหาสมุทร” เป็นโครงการที่จัดแสดงในงาน TEDx Bangkok ซึ่งใช้ศิลปะเพื่อให้ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ในทะเล มุ่งเน้นไปที่ปัญหาการอนุรักษ์ทางทะเลโดยการสร้างประติมากรรมใต้น้ำ ที่สามารถเป็นที่อยู่อาศัยในการเติบโตขึ้นใหม่ของปะการัง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างรายได้ช่องทางใหม่ให้แก่ชุมชน และทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการดำน้ำ

ทอมยังเป็นสมาชิกที่มีบทบาทของ “The Flying Scouts” และมหาสมุทรพาโทรล องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร ที่ให้ความช่วยเหลือโครงการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากที่ใกล้สูญพันธุ์หลายชนิดในประเทศไทย เขาเชื่อว่าคนรุ่นใหม่สนใจในเรื่องการอนุรักษ์สัตว์และธรรมชาติ แต่ยังขาดความเชื่อมโยงระหว่างความจริงของการดำรงชีวิตที่น่าเบื่อในแต่ละวันกับสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้

ซึ่งเขายังคงมองโลกในแง่ดีว่าเขายังสามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สร้างการรับรู้ และสร้างแรงบันดาลใจ ให้ผู้อื่นคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเองได้

ทอม กล่าวว่า “ผมเชื่อว่าทุกคนเกิดมาพร้อมกับของขวัญอย่างน้อยหนึ่งชิ้น มันขึ้นอยู่กับเราที่จะใช้ของขวัญชิ้นนั้นในทางที่ดีหรือไม่ดี และผมแค่ต้องการใช้การถ่ายภาพเป็นเครื่องมือในการเชื่อมทุกสิ่งที่มีความเชื่อมโยงกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพื่อสร้างความแตกต่างในโลกที่เราอาศัยอยู่ด้วยกันนี้”

อีกตัวอย่างของศิลปะที่แสดงออกอย่างมีเอกลักษณ์ เขาร่วมมือกับผู้จัดงาน “Wonderfruit Festival” ซึ่งจัดขึ้นในฐานะเทศกาลดนตรีและศิลปะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยตลอดระยะเวลา 3 วัน โดยสร้าง “The Little Monsters” ที่มีความยาว 3 เมตร และ “The Bigger Monsters” ที่ทำมาจากขยะซึ่งเก็บมาจากทะเล และถูกนำมาสร้างเป็นผลงานหลายชิ้นเพื่อจัดแสดงในงานนี้

“The Last Farewhale” เป็นผลงานอีกชิ้นที่เขาอธิบายว่า เป็นความคิดที่ท้าทายมากที่จะถ่ายภาพนางแบบกับวาฬที่ตายแล้ว

“ทุกคนบอกผมว่าผมบ้า ในตอนนั้นผมได้เริ่มเป็นอาสาสมัครของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพื่อศึกษาประชากรและพฤติกรรมของวาฬบรูด้า ในบริเวณอ่าวไทยตอนบน คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเรามีวาฬในประเทศไทย ผมต้องการให้ผู้คนตระหนักว่าเรามีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเลที่น่าทึ่งเหล่านี้ และช่วยผลักดันสถานะของวาฬบรูด้าให้เป็นสัตว์คุ้มครอง”

ทอมยังหลงใหลในการสนับสนุนของเขาที่มีต่อสมาชิกกลุ่ม LGBTQI “ด้วยเพศของผมที่เป็นเช่นนี้ มันช่วยส่งเสริมผลงานของผมและโดยปกติผมเป็นมิตรมาก ซึ่งใครก็ตามที่ได้พูดคุยกับผมก็คิดแบบนี้

“ถ้าผมสามารถเลือกที่จะเป็นชายจริงหญิงแท้ได้ ผมก็เลือกที่จะไม่เปลี่ยนเพราะมันเป็นส่วนผสมที่ลงตัวอยู่แล้ว เรารู้ว่าพวกเราบางคนมีสิ่งที่ควรปรับปรุงแต่ไม่ใช่เรื่องเพศ เพราะเราไม่ใช่คนเลวและไม่จำเป็นต้องทนทุกข์กับเรื่องนี้” เขากล่าวสรุป

Comments

Share Tweet Line