ส่องการเรียนรู้ประวัติศาสตร์! Journey to the West ในวันสบายๆสไตล์ เด็กสถาปัตย์ ม.ศรีปทุม

ส่องการเรียนรู้ประวัติศาสตร์! Journey to the West ในวันสบายๆสไตล์ เด็กสถาปัตย์ ม.ศรีปทุม

เต็กสุดขอบ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง กับโครงการ “Journey to the West” เรียนรู้ประวัติศาสตร์ และการออกแบบ แบบ On Site หรือที่เรียกว่า Area-Based Learning ณ แหล่งเรียนรู้ สถานีรถไฟหัวลำโพง และตลาดน้อย


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บูรณาการการเรียนรู้ ด้วยการนำนักศึกษาชั้นปีที่1 ที่ลงเรียนวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสากล 1 จำนวน 64 คน เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ในรูปแบบการเรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง ภายใต้โครงการ “Journey to the West” เข้าทัศนศึกษานอกห้องเรียนเพื่อเรียนรู้ สถาปัตยกรรมตะวันตกและจีน ณ สถานีรถไฟหัวลำโพง และตลาดน้อย โดยมีแนวคิดให้เป็นเหมือนการเดินท่องเที่ยว

อาจารย์ปิยะ ไล้หลีกพาล อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เล่าว่า เมื่อเร็วๆนี้ได้นำนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่เรียนในรายวิชา ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสากล 1 จำนวน 64 คน ไปทัศนศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ สถาปัตยกรรมตะวันตกและจีน ที่สถานีรถไฟหัวลำโพงและตลาดน้อย โดยให้ชื่อการทัศนศึกษาครั้งนี้ว่า “Journey to the West” โดยมีแนวคิดให้เป็นเหมือนการเดินท่องเที่ยว จึงเลือกเส้นทางนี้ 

อาจารย์ปิยะ เล่าต่อว่า สำหรับเป้าหมายหลักของการทัศนศึกษาเรียนรู้ เพื่อเข้าเยี่ยมชมศึกษาสถาปัตยกรรมของ  สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) และ โบสถ์วัดพระแม่ลูกประคำ (วัดกาลหว่าร์) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ออกแบบโดยสถาปนิกตะวันตก และเป็นงานออกแบบในลักษณะที่ฟื้นฟูรูปแบบสถาปัตยกรรมในประวัติศาสตร์ คือ Renaissance Revival และ Gothic Revival ตามลำดับ

ส่วนเป้าหมายรองของการทัศนศึกษาเรียนรู้ ได้แก่ ศาลเจ้าโจซือกง, ศาลเจ้าโรงเกือก, และไปรษณีย์กลาง โดยวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนนอกห้องเรียนในการทัศนศึกษาคราวนี้ก็เพื่อต้องการกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจและศึกษาสถาปัตยกรรมด้วยตนเอง ผ่านโจทย์งาน ที่เป็นเหมือนปริศนาที่ต้องค้นหา ในตัวสถาปัตยกรรมนั้น ๆและสำหรับตัวอาจารย์เองก็จะไม่เป็นเป็นผู้สอนหรือผู้บรรยาย แต่หากจะเป็นเสมือนโค้ช หรือเป็นผู้นำทาง เพื่อให้นักศึกษาสังเกต และสนใจใฝ่รู้ด้วยตนเอง รวมถึงยังเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ที่สนุกสนาน เหมือนหนึ่งการไปท่องเที่ยวอีกด้วย

และสำหรับที่นี่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เขาเรียน เรื่อง ประวัติศาสตร์ และการออกแบบ ในแบบ On Site หรือที่เรียกว่า Area-Based Learning รวมไปถึงการแลกเปลี่ยน เพื่อสรุปความรู้ที่ได้ และจบด้วยการประเมินกิจกรรมการเรียนการสอนที่เกิดขึ้น... แบบ 360องศาจริงๆ

REALATED NEWS

Comments

Share Tweet Line