ครั้งแรกกับหัตถศิลป์โบราณ มรดกงานปั้นจากธุลีดินผสานผงฝุ่นไม้มงคล สู่การจัดสร้าง “องค์พระพิฆเนศนาฏราชลีลา” หนึ่งเดียวในโลก

ครั้งแรกกับหัตถศิลป์โบราณ มรดกงานปั้นจากธุลีดินผสานผงฝุ่นไม้มงคล สู่การจัดสร้าง “องค์พระพิฆเนศนาฏราชลีลา” หนึ่งเดียวในโลก

ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของการจัดสร้าง “พระมหาคณปติพิฆเนศวรไศวะนาฏ อนันตนาคราชบัลลังก์” องค์บรมครูปฐมต้น พระเวทย์พระธรรมเทวา มหามงคล ๙ นาฏลีลา ด้วยการรังสรรค์ผลงานจากภูมิปัญญาโบราณ การทำงานร่วมกันครั้งแรกระหว่างองค์ภูมิด้านศรัทธาศักดิ์สิทธิ์ โดย “ช.อริยทรัพย์” และความวิจิตรบรรจงแห่งงานเทวศิลป์ โดย “สำนักช่างหอสูง” ก่อเกิดเป็นที่สุดแห่งความวิจิตรสู่สักการะเทวบูชา ผลงานหนึ่งเดียวในโลก


ผลงานด้านเทวศิลป์อันงดงามเป็นปฐมนี้ ช.อริยทรัพย์ ได้ขานพระนามพระองค์ว่า “พระมหาคณปติพิฆเนศวรไศวะนาฏ อนันตนาคราชบัลลังก์” องค์บรมครูปฐมต้น พระเวทย์พระธรรมเทวา ซึ่งมีเทวะลักษณะร่ายรำทั้งแปดกร ปรากฏพระองค์ในปางนาฏราชลีลา คล้ายองค์พระศิวะ ผู้เป็นพระบิดา ซึ่งเป็นปางที่มีความสำคัญยิ่งปางหนึ่ง สื่อถึงพลังมหาเทพที่ยิ่งใหญ่ในสามภพ และเกิดเป็นปฐมบทแห่งศิลปนาฏยศาสตร์ขึ้นในโลกใบนี้ องค์พระพิฆเนศทรงร่ายรำเหนือองค์พญาอนันตนาคราชอันเป็นบัลลังก์ที่แผ่พังพานทั้งเก้าเศียร รายล้อมองค์พระพิฆเนศอย่างสวยงามและดูน่าเกรงขาม

“การจัดสร้างได้ใช้ศาสตร์แบบโบราณ คือการนำผงไม้มงคล ผสานมวลสารศักดิ์สิทธิ์ โดยผมได้อัญเชิญธุลีธาตุจากแดนพุทธภูมิและวัตถุธาตุอันเป็นมงคล ประกอบด้วย ผงไม้และใบศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา อานันทโพธิ์ ประเทศอินเดีย ผงไม้พญางิ้วดำ ดินสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ผงเกสรดอกไม้มงคลในงานพิธีพุทธาภิเษกต่าง ๆ ธัญพืชมงคลจากพระพุทธนาลันทา หลวงพ่อองค์ดำ อัฐิธาตุลามะชั้นสูงจากทิเบต เม็ดยาจินดามณี ดินบริเวณกุฏิพระสีวลี น้ำเทวมนต์จากองค์มหาสังข์ น้ำจากแม่น้ำคงคา น้ำจากสระศักดิ์สิทธิ์ สระมุรธาภิเษก ราชาภิเษกของกษัตริย์ลิจฉวี อินเดีย ผงนเรศวรมหาราช ผสมและปั้นขึ้นรูปโดยสำนักช่างหอสูง เป็นการนำภูมิปัญญาโบราณมาหล่อหลอมสร้างองค์สักการะเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ” ช.อริยะทรัพย์ กล่าว   

องค์พระพิฆเนศจัดทำขึ้นอย่างประณีตบรรจงทีละองค์ (งานหัตถศิลป์) และลงสี ใส่ลายละเอียดด้วยความพิถีพิถันยิ่ง มีให้บูชาเพียง ๙ องค์ ๙ ลีลา ในโลกเท่านั้น โดยเรียกพระนามเดียวกับองค์ปฐม และเป็นชุดพิเศษมหามงคล ๙ นาฏลีลามหาเทพ มีชื่อเรียกเฉพาะองค์ดังต่อไปนี้ องค์ที่ ๑ องค์ประทานพร สำเร็จ, องค์ที่ ๒ องค์รุ่งเรือง รุ่งโรจน์, องค์ที่ ๓ องค์มหาโภคทรัพย์ สมบัติ, องค์ที่ ๔ องค์มหาอำนาจ บารมี, องค์ที่ ๕ องค์มหาเศรษฐี ไชยะ, องค์ที่ ๖ องค์โชค ลาภ พูนผล, องค์ที่ ๗ องค์อุดมสมบูรณ์ พูนสุข, องค์ที่ ๘ องค์มั่งมี ศรีสุข และองค์ที่ ๙ องค์อริยทรัพย์ มหาลาภ

“ทั้ง ๙ ลีลา เกิดจากเทวนิมิตที่ผมได้เห็นภาพลีลาต่าง ๆ ปรากฏในสมาธิจิตหลังทำพิธีบูชาพระองค์อยู่เนือง ๆ จนเกิดเป็นแรงบันดาลใจที่จะจัดสร้างองค์พระพิฆเนศ ๙ ลีลา เพื่อถวายเป็นเทวบูชา โดยจะนำรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย นำไปเป็นทุนในการบูรณะเจดีย์โบราณสมัยสุโขทัย อายุกว่า ๗๐๐ ปี ที่จังหวัดพิษณุโลก” ช.อริยะทรัพย์ กล่าว  

พิธีบวงสรวง “มหาเทพองค์พระมหาคณปติพิฆเนศวรไศวะนาฏ อนันตนาคราชบัลลังก์ องค์บรมครูปฐมต้น พระเวทย์พระธรรมเทวา” และ “องค์คเณศน้อย ปางประทานพร โภคทรัพย์ สำเร็จ” จัดขึ้นในเทศกาลคเณศจตุรถี วันที่ ๘ กันยายน เวลา ๐๙.๐๙ น. ณ สำนักช่างหอสูง จังหวัดเชียงใหม่ นำพิธีโดย ช.อริยทรัพย์ กล่าวโองการบวงสรวงองค์เทพยดา ครูบาอาจารย์ทั้งปวง และขออัญเชิญญาณบารมีแห่งองค์พระพิฆเนศวร แผ่พลังอันศักดิ์สิทธิ์ประสิทธิ์ลง ณ องค์รูปปั้นขององค์พระพิฆเนศและมวลสารสำคัญในพิธีในครั้งนี้เป็นปฐมฤกษ์ และในวันที่ ๙ กันยายน ทำพิธีอารตี บูชาขอพรองค์พระพิฆเนศ เพื่อขอให้องค์พระพิฆเนศได้แผ่บารมีอำนวยอวยชัยให้งานต่าง ๆ ในครั้งนี้สำเร็จ

ขอเชิญผู้เลื่อมใสศรัทธาร่วมเช่าบูชา “พระพิฆเนศปางนาฏราชลีลา” ปฐมบทแห่งศิลปนาฏยศาสตร์หนึ่งเดียวในโลก เพียง ๙ องค์ในโลกเท่านั้น เพื่อความสำเร็จอันยิ่งใหญ่และความเป็นสิริมงคลในชีวิต ด้วยผลงานประติมากรรมศิลปะชั้นสูงที่เปี่ยมไปด้วยพลังของความศักดิ์สิทธิ์และพลังแห่งศรัทธา ออกแบบและรังสรรค์โดย ช.อริยทรัพย์ และสำนักช่างหอสูง ขนาดองค์ ๓๕ x ๖๐ x ๓๐ เซนติเมตร (โดยประมาณ) เช่าบูชาองค์ละ ๕๙,๙๙๙ บาท และ “องค์คเณศน้อย ปางประทานพร โภคทรัพย์ สำเร็จ” บูชาตามสีมงคลนพเก้าประจำวันเกิด เพื่อเสริมดวงชะตาบารมี หนุนกิจการงาน การค้าขาย และทรัพย์ ขนาด ๑๕ x ๑๓ x ๘ เซนติเมตร ราคาเช่าบูชาองค์ละ ๑,๙๙๙ บาท โดยรายได้ส่วนหนึ่งร่วมสมทบทุนบูรณะเจดีย์โบราณสมัยสุโขทัย อายุกว่า ๗๐๐ ปี ณ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก และเป็นทุนตั้งต้นในการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ สำหรับผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ : https://www.wishbookmaker.com, Facebook : ช.อริยทรัพย์, Line : @chor.ariyasup

Comments

Share Tweet Line