"แกร็บ" ผลักดันวาระ 'เทคโนโลยีสร้างสรรค์สังคม' บนเวที WEF

แกร็บ (Grab) ผู้นำซูเปอร์แอปแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ร่วมประชุมประจำปี World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กับบรรดาผู้นำทั่วโลก เพื่อหารือเกี่ยวกับบทบาทและความคาดหวังของบริษัทเทคโนโลยี ในการใช้ "เทคโนโลยีสร้างสรรค์สังคม" ในการขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปข้างหน้า นอกจากนี้ แกร็บยังได้เข้ามามีบทบาทในการวางเค้าโครงปฏิบัติที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมที่เพิ่งอยู่ในระยะเริ่มแรกอย่างธุรกิจด้านแพลตฟอร์ม และด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

แกร็บ ได้จัดงานเสวนาในหัวข้อ "Unlocking Technology for Good" หรือ "ปลดล็อกเทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์สังคม" ซึ่งมีผู้ทรงอิทธิพลจากทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมมากมาย โดย His Excellency Luhut Pandjaitan รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชยนาวีและการลงทุนแห่งอินโดนีเซีย ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน (คลิกดูแถลงการณ์ฉบับเต็ม https://bit.ly/31kwI4p ) โดยได้เรียกร้องให้ภาครัฐและเอกชนกระชับความร่วมมือ ในการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมให้พลเมืองในประเทศ" โดยท่านรัฐมนตรีได้ให้คำแนะนำว่า "วิธีการที่ดีที่สุดในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐบาลกับผู้นำธุรกิจเทคโนโลยีอย่างแกร็บ คือการใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และเดินหน้าสู่สู่เป้าหมายเดียวกันในการสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้คนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ ไปจนถึงการแก้ไขปัญหาที่สั่งสมมานาน เช่น มลพิษทางอากาศ ด้วยการพัฒนาระบบนิเวศของรถยนต์ไฟฟ้า"


คุณ Anthony Tan ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งแกร็บ ยังได้จัดการอภิปรายร่วมกับ His Excellency Airlangga Hartarto รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย, คุณ Sanjay Poonen ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ VMWare, คุณ Michael Froman ประธานกรรมการของ Mastercard Center for Inclusive Growth ผู้เป็นรองประธานกรรมการและประธานบริหารฝ่าย Strategic Growth และคุณ Peggy Johnson รองประธานบริหารฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ Microsoft

His Excellency Airlangga Hartarto รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย กล่าวว่า "สิ่งแรก เราต้องการกำหนดนโยบายที่ส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างแกร็บ เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ Industry 4.0 ทั้งยังจะเปิดให้บริการทางการเงินเป็นที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคน เพื่อทำให้การเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างเท่าเทียมกลายเป็นความจริง"

ท่านรัฐมนตรี Airlangga กล่าวเสริมว่า "สิ่งถัดมาคือ เราต้องการให้ระเบียบกำกับดูแลของเราเอื้ออำนวยต่อการลงทุน พร้อมเดินหน้าสนับสนุนหลักธรรมาภิบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการคุ้มครองข้อมูล"

แกร็บ ช่วยกำหนดแนวปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างมีความรับผิดชอบ

ในเวที World Economic Forum แกร็บได้ลงนามใน "กฎบัตรว่าด้วยหลักการบริหารแพลตฟอร์มที่ดี" ซึ่งตอกย้ำความมุ่งมั่นของบริษัทในการส่งเสริมการบริหารแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างมีความรับผิดชอบเพื่อประโยชน์ของบุคลากร กฎบัตรดังกล่าวได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์มทั่วโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้มีส่วนร่วมทุกคน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐบาล บริษัทแพลตฟอร์ม และตัวพนักงานเอง ในการผนึกกำลังในโครงการริเริ่มต่าง ๆ ที่จะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ที่ทำงานบนแพลตฟอร์ม ตามหลักการบริหารแพลตฟอร์มที่ดี สำหรับตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีของบริษัทผู้ให้บริการแพลตฟอร์มนั้น แกร็บมีโครงการริเริ่ม Break the Silence เพื่อเข้าถึงผู้คนให้ครอบคลุมมากขึ้น ด้วยการเชิญชวนให้คนหูหนวกและผู้ที่มีความบกพร่องได้ใช้แพลตฟอร์มแกร็บในการสร้างโอกาสทำรายได้เพื่อเลี้ยงชีพ ทั้งยังได้ทุ่มความพยายามในการลดช่องว่างทางทักษะดิจิทัลในอาเซียน ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ขับ-พาร์ทเนอร์ทั้งหลายร่วมการฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลและเสริมทักษะอื่น ๆ ซึ่งล้วนเป็นตัวอย่างที่บริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมสามารถนำไปปฏิบัติตามได้

แกร็บยังช่วยวางรากฐาน Model AI Government Framework ฉบับที่ 2 ที่เผยแพร่โดย Info-communications Media Development Authority (IMDA) ของสิงคโปร์ และได้ให้ตัวอย่างการใช้งาน เพื่อให้องค์กรสามารถใช้ Model Framework ดังกล่าวได้ ในฐานะองค์กรที่มีลักษณะ "AI-everywhere" แกร็บใช้เทคโนโลยี AI กับทั้งแพลตฟอร์มเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น การขัดขวางการทำธุรกรรมฉ้อโกง และการจัดสรรการให้บริการด้านการขนส่งและสั่งอาหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการแบ่งปันการเรียนรู้ของบุคลากรด้าน AI และวิทยาศาสตร์กว่า 300 ราย แกร็บหวังที่จะสร้างแรงบันดาลใจสำหรับการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วย AI และส่งเสริมการใช้งาน AI อย่างมีความรับผิดชอบ

คุณ Anthony Tan ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งแกร็บ กล่าวว่า "การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ สามารถส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คน พาร์ทเนอร์ที่เป็นผู้ขับของเรากว่า 20% ไม่ได้ทำงานมาก่อนหน้าที่จะเข้าร่วมกับแกร็บ ซึ่งแกร็บช่วยให้ผู้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น จนสร้างเม็ดเงินได้เกือบ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐแก่เศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีที่ผ่านมา"

คุณ Anthony กล่าวเสริมว่า "ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลที่มากขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และการถกเถียงเรื่องการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรมได้ สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีสามารถทำได้มากกว่านี้ในฐานะผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมอย่างมีความรับผิดชอบ แกร็บเชื่อมั่นในวิธีการเชิงรุกในการกำกับดูแลตนเองเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของพาร์ทเนอร์เรา เรารุกปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจังเพื่อการบริหารแพลตฟอร์มและใช้ AI อย่างเป็นที่ยอมรับ และหวังว่าสิ่งนี้จะเป็นพื้นฐานที่มีประโยชน์สำหรับรัฐบาลและผู้เล่นรายอื่น ๆ ในอุตสาหกรรม เพื่อเริ่มแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน"

โครงการริเริ่มที่กล่าวมาเป็นการต่อยอดโปรแกรม "Grab for Good" ของบริษัท ซึ่งมุ่งมั่นที่จะนำทักษะความรู้ดิจิทัลและเปิดการเข้าถึงให้แก่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3 ล้านรายภายในปี 2568 ตลอดจนช่วยธุรกิจดั้งเดิมและผู้ค้ารายย่อยรวมกันอีกราว 5 ล้านแห่ง ให้ปรับกระบวนการทำงานเป็นดิจิทัล และฝึกอบรมนักเรียนนักศึกษา 20,000 คน ผ่านโครงการฝึกทักษะเทคโนโลยี ด้วยความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ

REALATED NEWS

Comments

Share Tweet Line