เมอร์ค สนับสนุน สถาบันเจนเนอร์ บรรลุเป้าหมายแรกของการผลิตวัคซีนโควิด-19

เมอร์ค สนับสนุน สถาบันเจนเนอร์ บรรลุเป้าหมายแรกของการผลิตวัคซีนโควิด-19

- แพลตฟอร์มการผลิตที่พัฒนาขึ้นล่าสุด จะสามารถรองรับการผลิตในปริมาณมาก


- ทีมนักวิจัยร่วมของสององค์กรย่นระยะเวลาในการพัฒนากระบวนการผลิตจาก 1 ปี เหลือเพียง 2 เดือน นับเป็นก้าวสำคัญของการผลิตวัคซีนโควิด-19 ในปริมาณมาก

- “เรานำอนาคตของการผลิตวัคซีนมาสู่ปัจจุบัน” อูดิท บาทรา สมาชิกคณะกรรมการบริหารของเมอร์ค และซีอีโอกลุ่มธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ กล่าว

 

เมอร์ค (Merck) บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ ร่วมกับสถาบันเจนเนอร์ (The Jenner Institute) ประกาศว่า สถาบันเจนเนอร์ได้วางรากฐานสำหรับการผลิตวัคซีนตัวเลือก ChAdOx1 nCoV-19 ในปริมาณมาก เพื่อใช้กับผู้ป่วยโรคโควิด-19

เนื่องจากมีผู้ป่วยลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการทดลองทางคลินิก การพัฒนากระบวนการผลิตขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นก้าวสำคัญในการส่งมอบวัคซีนจากห้องปฏิบัติการไปถึงผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย

“เรานำอนาคตของการผลิตวัคซีนมาสู่ปัจจุบัน” อูดิท บาทรา สมาชิกคณะกรรมการบริหารของเมอร์ค และซีอีโอกลุ่มธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ (Life Science) กล่าว “นี่เป็นก้าวสำคัญสำหรับการรักษาโควิด-19 และโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขทั่วโลก งานนี้นับเป็นหมุดหมายที่สำคัญในเส้นทางการพัฒนาการผลิตวัคซีน ในขณะที่การทดลองทางคลินิกจะยังคงก้าวหน้าต่อไป”

ด้วยการใช้ประโยชน์จากผลงานก่อนหน้านี้ของเมอร์ค ทำให้สถาบันเจนเนอร์มีพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับแผนการขยายการผลิตวัคซีนตัวเลือกโควิด-19 โดยปกติแล้ว การพัฒนากระบวนการผลิตอาจกินเวลาอย่างน้อยหกเดือนถึงหนึ่งปี แต่ภายในเวลาเพียงสองเดือน เมอร์คได้ให้การสนับสนุนทีมงานและผู้ร่วมโครงการของสถาบันเจนเนอร์ ในการประเมินแพลตฟอร์มการผลิตที่มีอยู่เดิม เพื่อนำมาใช้กับวัคซีนตัวใหม่ และยกระดับกระบวนการที่สำคัญ

ตลอดระยะเวลาสองปีที่่ผ่านมา ความร่วมมือของเมอร์คกับสถาบันเจนเนอร์ได้ก่อให้เกิดการพัฒนาแพลตฟอร์มที่รวดเร็วและสามารถปรับขยายได้ ตามแนวปฏิบัติด้านการผลิตที่ดีและการใช้เทคโนโลยีแบบใช้แล้วทิ้งสำหรับแพลตฟอร์มอะดีโนไวรัสของทางสถาบัน ด้วยเหตุที่ผลงานแรกเริ่มถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการผลิตวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จากนั้นมาแพลตฟอร์มนี้จึงถูกนำมาใช้ยืนยันผลการตรวจโครงสร้างอะดีโนไวรัสที่แตกต่างกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อเร่งการพัฒนาและการผลิตวัคซีนในอนาคต ความรวดเร็วถือเป็นความท้าทายที่สำคัญเมื่อเผชิญกับการระบาดใหม่ เช่น การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งนี้ เมื่อเดือนเมษายน 2561 สององค์กรได้ประกาศความร่วมมือเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและสามารถปรับขยายได้ตามความต้องการ

“ในช่วงเวลาที่เราไม่เคยพบเจอมาก่อน ทีมนักวิจัยของสถาบันเจนเนอร์สามารถพัฒนากระบวนการผลิตขนาด 10 ลิตร โดยต่อยอดมาจากแพลตฟอร์มเดิมที่สร้างขึ้นก่อนหน้านี้กับเมอร์ค ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเราสำหรับการดำเนินการขยายการผลิตในรอบต่อไป” ดร.แซนดี ดักลาส ผู้นำโครงการขยายขนาดการผลิตวัคซีนประจำสถาบันเจนเนอร์ กล่าว “ความร่วมมือของอุตสาหกรรม เช่น ความร่วมมือของเรากับเมอร์ค แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของความพยายามในการเร่งการรับมือกับการแพร่ระบาดและการระบาดใหญ่ ตลอดจนส่งมอบวัคซีนได้อย่างรวดเร็วเพื่อช่วยชีวิตผู้คน อันจะประโยชน์ต่อประชากรโลก”

 

REALATED NEWS

Comments

Share Tweet Line