ธุรกิจหลังความตายรูปแบบใหม่ที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ธุรกิจหลังความตายรูปแบบใหม่ที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

จากที่หลายธุรกิจให้ความสำคัญกับเรื่องของ Sustainability หรือการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบกับสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว โดยการวางแผนธุรกิจในรูปแบบนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะผู้คนต่างกลับมาตระหนักถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่ดูเสื่อมโทรมลงไปอย่างเห็นได้ชัด และยังสร้างผลกระทบอย่างเป็นวงกว้างต่อชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยคอนเซ็ปต์ของ Sustainability ได้แพร่กระจายไปในหลายธุรกิจด้วยกัน รวมไปถึงธุรกิจที่หลายคนคาดไม่ถึง อย่างธุรกิจบริการหลังความตายที่ได้มีการนำคอนเซ็ปต์นี้มาปรับใช้เช่นกัน หากสงสัยว่าการทำธุรกิจหลังความตาย จะช่วยในเรื่องของสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร ในบทความนี้จะมานำเสนอมุมมองใหม่ๆ ของธุรกิจนี้กัน


1. ไอเดียการจากไปที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ที่รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการอนุมัติให้นำกฎหมายที่ให้ผู้คนมีทางเลือกของการจัดการกับศพด้วยวิธีธรรมชาติ อย่างวิธี Natural Organic Reduction หรือการทำให้ร่างกายเป็นปุ๋ยแก่ธรรมชาติ โดยมีบริษัท Startup อย่าง Recompose ก่อตั้งโดย Katrina Spade ที่เป็นที่แรกที่จะให้บริการการจัดงานศพในลักษณะนี้ วิธีการจากไปอย่างธรรมชาตินี้ ถือกำเนิดขึ้นด้วยแนวคิดของการจัดงานศพด้วยวิธีการเผาจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนมาก ซึ่งในหนึ่งปีสามารถนับรวมเป็นหลายตันได้เลยทีเดียว นอกจากนั้นบางประเทศที่นิยมใช้โลงศพไม้ ทำให้ต้องมีการตัดไม้เพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก โดยการจัดการกับศพโดยวิธีNatural Organic Reduction นั้น จะเริ่มจากนำเอาร่างของผู้เสียชีวิตไปไว้ในกล่องที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และทำการปิดทับด้วยเศษไม้ ฟางข้าว และต้นอัลฟัลฟา ด้วยวิธีนี้จะใช้เวลาย่อยสลายเพียง 30 วัน ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็นปุ๋ยที่ปลอดภัยมีประโยชน์ต่อพืชธรรมชาติ โดยวิธีการดังกล่าวกำลังมีการโปรโมทใช้ให้ทั่วถึงมากขึ้นที่สหรัฐอเมริกา 

2. ธุรกิจรับจัดเลี้ยงแบบ Eco-Friendly Catering

แน่นอนว่าการจัดงานศพ ต้องมีการเสิร์ฟอาหารให้กับแขกที่มาร่วมงาน แต่เราอาจจะมองข้ามของผลกระทบจากการใช้วัสดุฟุ่มเฟือยภายในงานอย่างโฟม พลาสติกต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นภาระของสถานที่จัดงานในภายหลังได้ ฉะนั้นการเลือกใช้ Catering ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมน่าจะเป็นผลดีกับทุกฝ่าย โดยในประเทศไทยเริ่มมีธุรกิจรับจัดเลี้ยง หรือ Catering บางเจ้าที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่ โดยมีการเริ่มต้นตั้งแต่การเลือกใช้วัตถุดิบ และเครื่องปรุงไร้สารพิษ ปลอดสารฟอกขาว และGMOs พร้อมกับภาชนะใส่อาหารที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ หรือสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ อย่างภาชนะใส่อาหารที่ทำจากชานอ้อย หรือการนำปิ่นโตมาใส่อาหาร นอกจากนี้การทำธุรกิจจัดเลี้ยงแบบรักษ์โลกยังมีการคำนึงถึงโภชนาการของสารอาหารที่ต้องครบถ้วนอีกด้วยนอกจากจะอิ่มท้องและอิ่มใจ แล้วยังเป็นการทำเพื่อสิ่งแวดล้อมไปในตัวเช่นกัน

3. พวงหรีดทางเลือกใหม่ อย่างพวงหรีดกระดาษ

การปรับตัวของธุรกิจบริการหลังความตายยังรวมไปถึงเรื่องของการเลือกพวงหรีด พวงหรีดที่เราคุ้นเคยกันคือพวงหรีดที่ตบแต่งด้วยดอกไม้ พร้อมกับแผ่นโฟม หรือพลาสติกในการยึดทุกอย่างเข้าด้วยกัน ซึ่งในที่สุดแล้วการย่อยสลายของดอกไม้ จะส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ทั้งบางเจ้ายังมีการนำเข้าดอกไม้จากต่างประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายด้านการเดินทาง และมลพิษในขณะขนย้าย ที่สำคัญวัสดุที่ย่อยสลายยากอย่าง โฟม และพลาสติก ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมมากมาย ฉะนั้นพวงหรีดกระดาษ ดูจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ด้วยความที่พวงหรีดกระดาษ สามารถย่อยสลายได้ง่าย โดยใช้เวลาเพียง 2 – 5 เดือนในการย่อยสลาย ทั้งยังสามารถออกแบบดีไซน์รูปทรงได้หลากหลาย และด้วยน้ำหนักที่เบายังช่วยลดพลังงานในการขนส่งด้วย

และทั้งหมดนี้คือตัวอย่างของธุรกิจบริการหลังความตายที่ได้นำคอนเซ็ปต์ Sustainability มาประยุกต์ใช้โดยบางคอนเซ็ปต์อาจจะดูห่างไกลกับวัฒนธรรมไทยไปสักหน่อย แต่หากลองเปิดใจและคำนึงถึงผลลัพธ์ของสิ่งที่เราทำกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป โดยเราอาจจะเริ่มจากการใช้พวงหรีดกระดาษ จากแบรนด์ที่น่าสนใจอย่าง ‘ไอบุญ’ ที่นอกจากจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้วยังได้ร่วมทำความดีให้แก่สังคมด้วย โดยทุกยอดการสั่งซื้อทางแบรนด์จะทำการบริจาคให้เด็ก ๆ ในชนบทได้มีการศึกษาที่ดี และนี่คือตัวอย่างของแนวคิดการปรับใช้ธุรกิจแบบยั่งยืนได้อย่างน่าสนใจ สร้างผลลัพธ์ที่ดีกลับคืนสู่สังคม

Comments

Share Tweet Line